วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

สารพันธุกรรม


พันธุกรรม (Gen)           หมายถึง การส่งทอดข้อมูลข่าวสารของเซลล์ จากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งโดยผ่านโครโมโซม สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีจำนวนโครโมโซมบรรจุอยู่ในเซลล์เป็นจำนวนเฉพาะไม่เหมือนกัน เช่น เซลล์ของมนุษย์มี 46 โครโมโซม เซลล์ของลิงซิมแปนซีมี 48 โครโมโซม เซลล์ของต้นสนมี 22 โครโมโซม ส่วนเซลล์ของปลาทองมีถึง 94 โครโมโซม โครโมโซมเป็นที่รวบรวมของข้อมูลภาษาทางพันธุกรรม หรือ ยีน ซึ่งเก็บรวบรวมไว้เป็นรหัส ซึ่งเขียนขึ้นด้วยกรดนิวคลีอิค เรียงต่อกันเป็นคำและประโยค

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
                ในขณะที่สิ่งมีชีวิตมีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเติบโตใหญ่ขึ้น เซลล์ของมันยังคงมีขนาดคงเดิม แต่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยการแบ่งตัว และเพิ่มจำนวนมากขึ้น การแบ่งตัวที่ทำให้เกิดเซลล์สองเซลล์ที่เหมือนกัน เราเรียกว่า ไมโทซิส (Mitosis) ภาพจะแสดงให้เห็นขั้นตอนของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ดังนี้ (1) โครโมโซมภายในนิวเคลียสเริ่มหดตัวสั้นและหนาขึ้น (2) จับตัวเป็นคู่ๆ เป็นรูปตัว X (3) โครโมโซมเรียงตัวเป็นเส้นตรง (4) เซลล์เริ่มขยายตัวทำให้โครโมโซมแยกตัวออกสองข้าง (5) เซลล์สร้างผนังแบ่งเป็น 2 นิวเคลียส (6) เซลล์แยกตัวออกเป็น 2 เซลล์โดยอิสระ การแบ่งตัวแบบนี้ทำให้เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่ มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ
โครโมโซมของมนุษย์ (เพศหญิง)

        ในการสืบทอดพันธุกรรมด้วยเพศ จะมีการแบ่งตัวชนิดพิเศษอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้เซลล์ที่เกิดใหม่มีความแตกต่างกัน เราเรียกว่า ไมโอซิส (Meiosis) ภาพจะแสดงให้เห็นถึงโครโมโซมของมนุษย์จำนวน 23 คู่ เรียงตามขนาดใหญ่ไปเล็ก โครโมโซมคู่ที่ XX เป็นโครโมโซมพิเศษซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเพศหญิง สเปิร์มซึ่งอยู่ในอัณฑะของเพศผู้ และไข่ซึ่งอยู่ในรังไข่ของเพศเมีย จัดเป็น “เซลล์เพศ”
(Sex cell) ถือเป็นเซลล์พิเศษ เมื่อเกิดการปฏิสนธิ สเปิร์มของเพศผู้เข้าไปอยู่ในนิวเคลียสในไข่ของเพศเมีย ทำให้เซลล์ไข่มีโครโมโซมครบ46 ตัว 

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (อาศัยเพศ)
        ภาพจะแสดงให้เห็นขั้นตอนการแบ่งตัวแบบไมโอซิส ดังนี้ (1) โครโมโซมภายในนิวเคลียสเริ่มหดตัวสั้นและหนาขึ้น (2) จับตัวเป็นคู่ๆ เป็นรูปตัว X (3) โครโมโซมจับคู่ประกบกันแลกเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม (4) แต่ละคู่แยกตัวจากกัน (5) เซลล์เริ่มขยายตัวออก (6)เซลล์สร้างผนังแบ่งเป็น 2 นิวเคลียส (7) เซลล์แยกตัวออกเป็น 2 เซลล์โดยอิสระ (8) เซลล์เริ่มขยายตัวทำให้โครโมโซมแยกตัวออกสองข้าง (9) เซลล์สร้างผนังแบ่งเป็น 2 นิวเคลียส (10) เซลล์แยกตัวออกเป็น 4 เซลล์โดยอิสระ การแบ่งตัวแบบนี้ทำให้เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่ละเซลล์ มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างไปจากเซลล์ต้นกำเนิด นี่เป็นสาเหตุทำให้ตัวเรามีความแตกต่างและคล้ายคลึงกับบรรพบุรุษ
รหัสพันธุกรรม (Genetic code)

          โครโมโซม ประกอบขึ้นด้วยโมเลกุลของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก หรือ DNA ซึ่งเป็นโมเลกุลสายคู่บิดเป็นเกลียวต่อเนื่องดังที่แสดงในภาพ จะแสดงถึงโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มโมเลกุลย่อยของกรดนิวคลีอิกที่เรียกว่า “นิวคลีโอไทด์” (Nucleotide) แต่ละนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย คือ น้ำตาลไรโบส 5 อะตอมคาร์บอน [R] อยู่ตรงกลาง ปลายข้างหนึ่งต่อเชื่อมกับ กลุ่มฟอสเฟต [P] โดยมีปลายอีกข้างหนึ่งต่อเชื่อมกรดนิวคลีอิกที่ฐานไนโตรจีเนียส [B] ซึ่งมีด้วยกัน 4 ชนิดคือ อะดีนิน (A), ไทมิน (T), กัวนิน (G) และไซโทซิน (C) หากนำโครโมโซม (ในเซลล์มนุษย์) หนึ่งเส้นมายืดออก จะได้ระยะทางประมาณ 2-3 เมตร ซึ่งมีฐานไนโตรจีเนียสประมาณ 3 ล้านฐาน
โครงสร้าง DNA     
         เนื่องจากโครงสร้างของ DNA ซึ่งเป็นโมเลกุลสายคู่ (Double helix) นิวคลีโอไทด์ซึ่งอยู่คู่กันจึงเชื่อมต่อกันที่ฐานไนโตรจีเนียสโดยมีข้อแม้ว่า “A คู่กับ T” และ “C คู่กับ G” เท่านั้น ดังนั้นลักษณะของการจับคู่ฐานจึงมีเพียง 4 รูปแบบ เท่านั้น คือ {A-T}, {T-A}, {C-G} และ {G-C} เท่านั้น นี่คือตัวอักษรในรหัสพันธุกรรม ภาษาพันธุกรรมมีความคล้ายคลึงกับภาษามนุษย์ “คำ” ที่ใช้ในรหัสพันธุกรรมเรียกว่า “โคดอน” (Codon) หนึ่งโคดอนประกอบด้วย กลุ่มลำดับฐาน ซึ่งอ่านครั้งละ 3 ตัวอักษร เช่น [{A-T}, {C-G}, {T-A}] ดังตัวอย่างในภาพท ดังนั้นกลุ่มของลำดับฐานจึงมี 64 กลุ่ม ที่แตกต่างกัน ถ้อยคำเหล่านี้จัดเรียงต่อกันคำต่อคำ เป็นประโยคข้อมูลตลอดความยาวของสาย DNA

รหัสพันธุ์กรรม 1 โคดอน


     เมื่อเซลล์เกิดการแบ่งตัว สายดีเอ็นเอจะจำลองแบบตัวเอง (Replication) โดยการถอดซิปตัวเองออก คลายฐานไนโตรจีนัส เพื่อให้โมเลกุลของกรดนิวคลีอิกคัดลอกแบบตัวเอง จนเกิดสายโมเลกุลใหม่อีก 2 เส้น ซึ่งเหมือนกันทุกประการ ประกบกันเป็น สายเก่า-ใหม่ จำนวน 3 คู่ ดังภาพ
การจำลองแบบ DNA
     ในการทำงานของร่างกาย เซลล์จะต้องถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อนำข้อมูลข่าวสารจาก DNA ไปสู่ปฏิบัติ โดยมีผลลัพธ์เป็นการสังเคราะห์โปรตีนชนิดต่างๆ จากโมเลกุลของกรดอะมิโนหลายชนิด (ภาพด้านล่าง) เมื่อการถอดรหัสเริ่มขึ้น เอนไซม์ (โปรตีนเร่งปฏิกิริยา) จะเปิดสายโมเลกุลเกลียวคู่ให้แยกจากกันตามจุดที่ต้องการ เอนไซม์อีกชนิดหนึ่งจะสร้างสาย “เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ” (messenger RNA) หรือ mRNA เข้าไปประกบคู่กับ สาย DNA ข้างหนึ่ง โดยการเชื่อมฐานนิวโตรจีเนียสเข้าด้วยกัน แต่ฐานใน RNA มีเพียง A, C, G, ไม่มี T (ไทมิน) แต่มี U (ยูราซิล) แทน เมื่อ mRNA ทำการคัดลอกข้อมูลจาก DNA เสร็จแล้ว จะเดินทางผ่านผนังนิวเคลียสออกมา จากนั้นไรโบโซมซึ่งมี RNA อีกชนิดหนึ่งซึ่งบรรจุอยู่ภายในเรียกว่า “ทรานสเฟอร์อาร์เอ็นเอ” (transfer RNA) หรือtRNA จะเคลื่อนตัวไปตามสาย mRNA เพื่อแปลรหัสพันธุกรรมทีละ 1 โคดอน หรือ 3 ตัวอักษร เช่น [{A-U}, {U-A}, {C-G}] ข้อมูลจาก nRNA เป็นคำสั่งการให้ tRNA คัดเลือกโมเลกุลของกรดอะมิโนทั้ง 20 ชนิด เรียงลำดับให้ถูกต้องเพื่อสังเคราะห์โปรตีนชนิดที่ต้องการ เมื่อไรโบโซมเคลื่อนที่มาถึงรหัสที่บอกว่า หยุด ก็จะได้สายโปรตีนโมเลกุลที่สมบูรณ์ และหลุดออกไปจากไรโบโซม เพื่อทำหน้าที่ๆ เซลล์ต้องการต่อไป

การทำงานของ RNA


ลักษณะทางพันธุกรรม

                คนเราแต่ละคนจะมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ของตนเอง โดยมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับพ่อและมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับแม่ ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก
                
            พ่อ

เป็นลูกของปู่กับย่าพ่อจึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากปู่และลักษณะบาง
อย่างมาจากย่า

            แม่  เป็นลูกของตากับยายแม่จึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากตา และลักษณะบางอย่างมาจากยาย

           ตัวเรา  เป็นลูกของพ่อกับแม่ตัวเราจึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากพ่อ และลักษณะบางอย่างมาจากแม่

     สิ่งมีชีวิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์จะมีการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากพ่อแม่ไปสู่ลูกเช่นเดียวกับคนเรา เช่น แม่ไก่จะออกลูกออกมาเป็นลูกไก่ (ลูกเจี๊ยบ) ซึ่งมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับตัวพ่อไก่แม่ไก่ เมล็ดข้าวโพดที่ถูกนำมาปลูกจะเติบโตเป็นต้นข้าวโพดเหมือนกับต้นพ่อแม่ ลักษณะบางอย่างของลูกที่แตกต่างไปจากพ่อหรือแม่นั้น  อาจเป็นลักษณะที่ได้รับการถ่ายทอดจากปู่  ย่า  ตา หรือยายก็ได้  แต่ถ้าลักษณะที่ปรากฏออกมานั้นไม่เหมือนลักษณะของใครในครอบครัวเลย  แสดงว่าลักษณะบางอย่างที่ปรากฏออกมาเป็นลักษณะที่แปรผัน  ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปได้
     สิ่งมีชีวิตต่างๆ สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลาน ได้โดยหน่ายพันธุกรรมนี้จะอยู่ใน ยีน (gene)  ที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์
     นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนี้คือ
เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor  Mendel)  ซึ่งเป็นนักบวชชาวออสเตรียได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการทดลอง
ปลูกต้นถั่วลันเตา และสรุปเป็นกฎของเมนเดลไว้ ดังนี้
                1. ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตจะถูกควบคุมโดยยืนที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์และถ่ายทอดไปยังลูกหลานทาง
เซลล์สืบพันธุ์
                2. การถ่ายทอดลักษณะแต่ละลักษณะเป็นอิสระต่อกัน
                3. ลักษณะที่ปรากฏออกมาบ่อยครั้ง เรียกว่า ลักษณะเด่น ลักษณะที่ปรากฏออกมาน้อยครั้ง
เรียกว่า ลักษณะด้อย
                4. สัดส่วนของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อย จะมี 3 : 1 เสมอ
ลักษณะทางพันธุกรรม (genetic  character)
       เป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น ลักษณะจมูกโด่ง จมูกแบน  ผมหยิก ผมตรง  ผิวดำ ผิวขาว  ตาชั้นเดียว ตาสองชั้นลักษณะดังกล่าวมักมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่หรือญาติ  ลักษณะเหล่านี้จึงสามารถถ่ายทอดมาจากพ่อแม่  เรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรม
                สำหรับการศึกษากลไกการควบคุมลักษณะกรรมวิธีในการส่งข้ามลักษณะจากชั่วหนึ่ง
ไปยังอีกชั่วหนึ่ง  คือ  พันธุกรรมของลักษณะ (heredity)

ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม

                ทางพันธุกรรม (genetic  v ความแปรผันariation) สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะตัว เช่น  รูปแบบของสุนัขจะมีลักษณะเฉพาะ เราสามารถแยกสุนัขออกจากแมวหรือเสือได้  ในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันก็มีลักษณะเฉพาะตัว
เช่น  การมีลักยิ้ม  การมีติ่งหู ลักษณะเหล่านี้จะแตกต่างกันมากขึ้น เมื่อคนเราต่างพ่อแม่กันไม่เป็นญาติกัน  ความแปรผันทางพันธุกรรมยังแบ่งออกเป็น

1.ลักษณะทางพันธุกรรมที่แปรผันไม่ต่อเนื่อง (discontinuous  variation) เป็นการแปรผันที่แยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด คือ เมื่อมีลักษณะนั้นและก็คือ มี และเมื่อไม่มีก็คือไม่มี  เช่น  การมีลักยิ้มและการไม่มีลักยิ้ม ลักษณะเชิงผม คือ แนวผมหยัก และแนวผมตรง
หมู่เลือดคือ  หมู่ A,B,AB,O หมู่เลือดRh คือ  Rh+ และRh -  ถนัดซ้ายถนัดขวา
2.ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (continuous  variation) เช่น ลักษณะผิวของคนมีตั้งแต่ดำสนิท ดำปานกลาง ดำน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงผิวขาว หรือความสูงก็เช่นกัน
ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม

     ลักษณะของสิ่งมีชีวิตบางลักษณะแปรผันตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเช่นขนาดหรือน้ำหนัก  สีผิวของคน สติปัญญา  ดังนั้นลักษณะของสิ่งมีชีวิตนอกจากจะถูกกำหนด โดยพันธุกรรมแล้วนอกจากนี้ยังถูกกำหนด โดยสิ่งแวดล้อมดังนั้นลักษณะของสิ่งแวดล้อมก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่ประสบอยู่
การถ่ายทอดพันธุกรรม

     มนุษย์เริ่มรู้จักการถ่ายทอดกรรมพันธุ์มีความสงสัยในเรื่องบางสิ่งบางอย่างเกี่ยว
กับการสืบพันธุ์ และการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ปัญหาการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตพวกดิพลอยด์ต้องมีพ่อและแม่เป็นผู้ให้กำเนิดลูกโดยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ นักชีววิทยาให้ความสนใจในปัญหาการสืบพันธุ์และการถ่ายทอดกรรมพันธุ์มาก ในช่วงเวลา 300 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักชีววิทยาได้ทราบความจริงว่ามีการปฏิสนธิระหว่างไข่จากแม่และสเปิร์มจากพ่อได้ ไซโกตจึงจะเจริญเป็นตัวใหม่ต่อไป
จากปัญหาแรกสังเกตได้ว่า ลักษณะต่างๆ ที่แสดงออกในรุ่นลูกจะคล้ายกับลักษณะหลักที่ปรากฎในรุ่นพ่อ - แม่ (Similarity) เช่น แมวก็มีลูกเป็นแมว เสือก็มีลูกเป็นเสือ แต่สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันเฉพาะอย่าง คือ แมวยังคงรักษาลักษณะเผ่าพันธุ์ของแมวเสือยังคงรักษาลักษณะเผ่าพันธุ์ของเสือ การถ่ายทอดลักษณะหลังต่างๆจากพ่อ - แม่ ไปสู่รุ่นลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นตัวกลางสำคัญในการถ่ายทอดลักษณะกรรมพันธุ์พ่อและแม่ต่างถ่ายทอดลักษณะกรรมพันธุ์ของแต่ละฝ่ายไปสู่ลูกจึงพบว่าลูกมีลักษณะหลักต่างๆ เหมือนพ่อบ้างและเหมือนแม่บ้างแต่ถ้าได้ศึกษาให้ละเอียดจะพบว่าลูกไม่ได้ เหมือนกับพ่อและแม่ทุกอย่าง จะมีข้อแตกต่างเล็กน้อย มีความแตกต่างแปรผัน (Variation) ของลักษณะปลีกย่อยในหมู่ลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน ยกเว้นลูกฝาแฝดเหมือนความแตกต่างแปรผันลักษณะกรรมพันธุ์จะยิ่งมีมากขึ้นในหมู่ประชากรต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
       เมื่อมีการปฏิสนธิระหว่างไข่จากแม่และสเปิร์มจากพ่อจะได้ไซโกต (Zogote) เจริญเป็นตัวใหม่ ปัญหาทั้ง 3 ประการ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาหาหลักเกณฑ์การถ่ายทอดกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาคือ เมื่อไซโกตเจริญต่อไปจนได้เซลล์จำนวนมาก ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบทางกรรมพันธุ์เหมือนกับเซลล์ไซโกตทุกประการ แต่กลุ่มเซลล์แต่ละกลุ่มจะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู จมูก หัวใจ ปอด แขน ขา
        ในปี ค.ศ. 1677 นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ชื่อ แอนตอน วาน ลิวเวนฮอกได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีคุณภาพ และมีกำลังขยายหลายร้อยเท่า เขาสังเกตเห็นตัวสเปิร์มในน้ำเชื้อจากสัตว์ตัวผู้ และน้ำเชื้อจากคนผู้ชายในเวลาใกล้เคียงกัน นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ชื่อเรก์เนียร์ เดอกราฟบรรยายถึงฟอลลิเคิลของรังไข่เพศหญิงเป็นครั้งแรก โดยกล่าวว่ามีไข่เกิดขึ้นจากรังไข่ และบรรยายถึงวิธีการตกไข่ในเพศหญิงว่ามีตัวคนจำลองขนาดเล็กอยู่ในไข่ ซึ่งสามารถเจริญต่อไปได้เมื่อได้รับการผสมจากสเปิร์ม ส่วนสเปิร์มนั้นเป็นเพียงตัวช่วยกระตุ้นให้ไข่เจริญต่อไปได้เท่านั้น แนวความคิดที่ว่ามีตัวคนจำลองขนาดเล็กมากอยู่ในไข่หรือในสเปิร์มเรียกว่า ทฤษฎีพรีฟอร์เมชัน (Preformation Theory)
        นักธรรมชาติบางคนไม่เชื่อว่าจะมีตัวคนจำลองขนาดเล็กอยู่ในไข่หรือในสเปิร์ม ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาวเยอรมัมชื่อ คาสปาร์ เอฟ วูลฟ ศึกษาการเจริญเติบโตของเอมบริโอจากไข่ไก่ วูลฟ์สังเกตเห็นการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในเอมบริโอทำให้เชื่อว่าเซลล์สืบพันธุ์จากพ่อและแม่ต้องมีองค์ประกอบบางอย่างที่พร้อมจะเจริญเป็นเอมบริโอได้หลังจากการปฏิสนธิ โดยเรียกแนวความคิดแบบนี้ว่า ทฤษฎีเอปิเจเนซิส (EpigenesisTheory)ทฤษฎีนี้มีส่วนถูกต้องเพราะต่อมาพบว่าเซลล์สืบพันธุ์ประกอบ ด้วยนิวเคลียส โครโมโซมและยีน
ต่อมาชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ มอเปอร์ทัวส์ (deMaupertuis) เขาเชื่อแนวความคิดใหม่ว่าทั้งพ่อและแม่ต้องใช้ชิ้นส่วนบางอย่างในการสืบพันธุ์ เมื่อชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กไปรวมกันกลายเป็นไซโกตสามารถเจริญต่อไปเป็นเอมบริโอได้ ชิ้นส่วนเหล่านั้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชื่อ ชารลส์ ดาร์วิน มีความคิดสอดคล้องกับความคิดของเดอ มอเปอร์ทัวส์ เรียกแนวความคิดนี้ว่า ทฤษฎีแพนเจเนซิส(Pangeresis Theory)
ในกลางคริศต์ศตวรรษที่ 19 ออกัส ไวส์แมนน์ ทดลองให้เห็นชัดว่าแนวความคิดของมอเปอร์ทัวส์ไม่ถูกต้อง ไวส์แมนน์ได้เสนอแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ว่าสิ่งที่ ควบคุมลักษณะกรรมพันธุ์มีอยู่แล้วในเซลล์ทุกเซลล์ ที่ควบคุมลักษณะกรรมพันธุ์ไปผสมด้วยกันใหม่ในไซโกต เรียกแนวความคิดนี้ว่า ทฤษฎีเยิร์มพลาสซึม (Germ Plasm Theory) เมนเดลกับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกรเกอร์ เมนเดลได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ของถั่วลันเตาโดยการทดลองผสมพันธุ์พืชควบคู่กับการนำเอา
หลักคณิตศาสตร์และสถิติมาใช้ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองเมนเดลได้เลือกใช้ถั่วลันเตาซึ่งเป็นพืชพวกดิพลอยด์ (2n) มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ถั่วลันเตารุ่นลูกผสมแต่ละต้นมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีน 2 ชุด ชุดหนึ่งมาจากแม่อีกชุดหนึ่งมาจากพ่อจากสมมติฐานนี้เมนเดลได้นำมาสร้างเป็นโมเดลการถ่ายทอดกรรมพันจากพ่อและแม่ไปสู่ลูก การปฏิสนธิเกี่ยวกับการรวมตัวระหว่างเซลล์ สืบพันธุ์หรือสเปิร์มจากพ่อกับเซลล์สืบพันธุ์หรือไข่จากแม่ ซึ่งต่างมีหน่วยพันธุกรรม 2 ชุดจึงต้องมีการลดจำนวนพันธุกรรมลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเซลล์สืบพันธุ์จากพ่อและแม่ปฏิสนธิกันก็จะได้ ไซโกตซึ่งมีหน่วยพันธุกรรม 2 ชุดเท่ากับรุ่นพ่อ - แม่เมื่อไซโกตเจริญเป็นต้นใหม่ก็พร้อมที่จะถ่ายทอดหน่วยพันธุกรรมเช่นเดียวกันนี้ต่อไปเมนเดลได้คัดเลือกเอาลักษณะกรรมพันธุ์ต่างๆ ของถั่วลันเตาที่แน่ใจว่าเป็นพันธุ์แท้คัดเลือกเอาคู่ลักษณะกรรมพันธุ์ที่เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
เช่น เมล็ดสีเหลือง - สีเขียว ต้นสูง - ต้นเตี้ย ดอกสีแดง - ดอกสีขาว

แนวคิด
    1. มนุษย์แต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้าน รูปร่างหน้าตา ขนาด สีผม ความสามารถหรือแม้แต่ฝาแฝดที่เกิดจากกไข่ใบเดียวกันก็ยังไม่เหมือนกันส่วนจะต่างกันมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคน ความแตกต่างของแต่ละคนจะมีมากหรือน้อยต่างก็ขึ้นอยู่กับ พันธุกรรม เช่น เชาว์ปัญญา รูปร่างหน้าตา กลุ่มเลือด ความถนัด ความสามารถหรือความแตกต่างเพราะสิ่งแวดล้อมอันเช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

    2. เรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลยังพิจารณาเรื่องความแตกต่างทางด้านร่างกาย เชาว์ปัญญา อารมณ์ และสังคมความแตกต่างระหว่างบุคคลมนุษย์เรามีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น ต่างก็มีความต้องการ มีความรู้สึกมีอารมณ์แต่ในขณะเดียวกันบุคคลแต่ละคนก็มีความแตกต่างจากคนอื่นๆ ได้หลายประการ เช่น มีรูปร่างต่างกัน มีสีของตา สีของผมต่างกัน บางคนมีความฉลาดบางคนโง่เขลาแม้แต่คู่แฝดยังมี ความแตกต่างกัน เช่น แตกต่างกันในความคิดและอารมณ์ ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้ใดจะมีความเหมือนกันไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จึงมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันและความแตกต่างของมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่บุคคลควรเข้าใจและศึกษาเพื่อให้เข้าใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

วิวัฒนาการของการศึกษาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีดังนี้

ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นเรื่องที่ได้มีการรับรู้มาเป็นเวลานับตั้งแต่ เพลโต้ ( Plato )( 427 – 347 ก่อนคริสต์ศักราช ) นักปรัชญาชาวกรีก ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Republic
ว่าไม่มีบุคคลสองคนที่เกิดมาเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง ต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้า ผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องราวของความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์คือ เซอร์ ฟรานซิส กาลตัน ( SirFrancis Galton ) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องราวของกรรมพันธุ์ ได้สรุปว่า สติปัญญาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และกาลตันยังกล่าวไว้ว่า ลายมือของคนเรายังมีความแตกต่างกันอีกด้วยในศตวรรษที่ยี่สิบ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ แมคคีน แคทเทลล์ ( JamesMckeen Cattall ) ผู้เคยศึกษาร่วมกับ วิลเฮล์ม วุ้นส์ ( Wilhelm Wundt ) เรื่องจิตสำนึกของบุคคลต่อภาพที่เร้าในทันทีทันใดแคทเทลล์ได้ให้ความสนใจในด้านการวัดความแตกต่างระหว่างบุคคล
และได้ริเริ่มออกแบบทดสอบการปฏิบัติงาน ( Perfor Mance Test )ในเรื่องการวัดความแตกต่างทางจิตวิทยาที่สำคัญนี้เป็นผลงานของนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส
ชื่อแอสเฟรด บิเน่ท์ ( Alferd binet ) ซึ่งได้สร้างแบบทดสอบสติปัญญาร่วมกับนายแพทย์ ธีโอดอร์ไซมอน( Theodore simon ) ให้ชื่อว่าแบบทดสอบ บิเน่ท์ – ไซมอน ใน ค.ศ. 1905 แบบทดสอบชนิดนี้มี30 ข้อและเน้นด้านความเข้าใจ การหาเหตุผล และการใช้วิจารณญาณของเด็กเพราะ บิเน่ท์
เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสติปัญญา บิเน่ท์ ใช้ทดสอบกับเด็กปกติจำนวน 50 คน อายุระหว่าง 3 – 11 ปี และเด็กปัญญาอ่อนจำนวนหนึ่ง เพื่อหาความสามารถเฉลี่ยของระดับอายุเด็กวิธีนี้เป็นการทดสอบสติปัญญาอย่างหยาบ ๆ เพราะถือว่าเด็กคนใดทำข้อทดสอบได้มากข้อก็มีสติปัญญาสูง แต่จะสูงเท่าใดไม่สามารถทราบได้ ต่อมาใน ค.ศ. 1908 แบบทดสอบนี้ได้รับการปรับปรุงโดยจัเป็นชุด ๆ ตามอายุของเด็กระหว่าง 3 – 13 ปี และเพิ่มคำถามให้มากขึ้น
คะแนนที่เด็กได้รับจะแสดงถึงระดับความสามารถของเด็ก เมื่อเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กที่มีอายุเท่า ๆ กันการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ครั้งที่สองกระทำใน ค.ศ. 1911 และใช้ได้กับเด็กอายุวัย 3 ปีไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ภายหลังได้มีผู้นำเอาแบบทดสอบของบิเน่ท์ไปปรับปรุงที่สำคัญคือ นักจิตวิทยาชื่อเทอร์แมน ( Termen ) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกาได้นำแบบทดสอบไปปรับปรุงและเรียกชื่อว่าแบบทดสอบสแตนฟอร์ด - บิเน่ท์ ใน ปี ค.ศ. 1916 จากแบบทดสอบนี้เทอร์แมน
ได้นำอัตราส่วนของเชาว์ปัญญาหรือ IQ มาใช้เป็นครั้งแรก จากนั้นเทอร์แมนได้ร่วมมือกับเมอร์ริล( Merrill ) ทำการดัดแปลงทดสอบซึ่ง ภายหลังบรรดาแบบทดสอบเชาว์ปัญญาส่วนใหญ่ได้พัมนามาจากแบบทดสอบที่เทอร์แมนและเมอร์ริลช่วยกันพัฒนามาจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ได้มีผู้นำเอาเอกสารการทดสอบทางจิตวิทยามาใช้ประเมินความแตกต่าง ระหว่างบุคคลอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นในวงการทหารวงการศึกษาวงการธุรกิจ ศูนย์แนะแนวอาชีพ ศูนย์สุขภาพจิต และโรงพยาบาล
ต่าง ๆ ในบทนี้มุ่งที่จะกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านที่สำคัญสองด้านคือ บุคลิกภาพและสติปัญญา เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์สาเหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกัน
      นักจิตวิทยาและนักการศึกษาเชื่อว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นผลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ถ้าความดีเลวเกิดจากพันธุกรรม สิ่งที่ควรทำคือ ควรปรับปรุงชาติพันธุ์ของเราให้ดียิ่งๆ ขึ้น แต่ถ้ามนุษย์เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ควรปรับปรุงก็ได้แก่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราทำให้ดีขึ้นเหมือนกับชาวนาถ้าต้องการให้ผลิตผลบังเกิดขึ้นอย่างงอกงามก็ต้องอาศัยการดูแลรักษาที่ดินให้สมบูรณ์และรู้จักเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี พืชแม้จะมีสายพันธุ์ที่ดี ถ้าปลูกในดินไม่ดี ดินไม่มีปุ๋ยพืชย่อมจะไม่ได้ผลผลิตดี ทำนองเดียวกันพื้นดินแม้จะดีเพียงใด ถ้าพืชพันธุ์ไม่ดี พืชพันธุ์
อ่อนแอ พันธุ์พืชไม่สามารถทดต่อโรคและแมลง ก็ย่อมจะไม่ได้รับผลผลิตที่ดีเท่าที่ควร
กลุ่มเลือดของบิดา กลุ่มเลือดของมารดา กลุ่มเลือดของบุตร
O O O
O A O,A
O B O,B
A A O, A
A B O, A, B, AB
B B O, B
O AB A, B
A AB A, B, AB
B AB A, B, AB
AB AB A, B, AB


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น